The Aristocats - Marie

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่3🌈


การเรียนในคาบนี้ อาจารย์ได้จัดกิจกรรม
การจัดทำสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
ให้นักศึกษาทำทั้งหมด 2 กิจกรรม

กิจกรรมแรกคือ ตัดกระดาษ


อุปกรณ์การทำสื่อ
①ไม้บรรทัด
②คัตเตอร์
③แผ่นรองตัด
④กรรไกร
⑤สีเมจิก
⑥ดินสอ
⑦กระดาษขาวเทาแบบแข็ง ( แผ่นใหญ่ )


ขั้นตอนการทำสื่อ
ขั้นตอนที่ 1 นำกระดาษขาวเทาแบบแข็งมาตัดแบ่งครึ่งซึ่งจะได้ทั้งหมด 4 คน หรือ 4 แผ่นเท่าๆกัน

ขั้นตอนที่ 2 นำมาวัดขีดแบ่งช่องเป็น แนวนอน 10 ช่อง แนวตั้ง 4 แถว วัดช่องละ 2 นิ้ว แล้วตัดออก ซึ่งได้ทั้งหมด 2 ชุด ชุดละ 2 แถว

ขั้นตอนที่ 3 นำกระดาษขาวเทาที่เหลือในส่วนที่ตัดออกเพื่อที่จะมาทำส่วนต่อไป ซึ่งนำกระดาษที่ขีดเป็นช่องเสร็จแล้วนำมาวางแนบเป็น 3 ช่อง 2 แถว แล้วขีดเส้นนำไปตัดออกจำนวน 2 แผ่น และวัด 2 นิ้ว 2 ช่อง ขีดลงมาตามความยาว สามารถใช้สีเมจิกขีดเพื่อให้เห็นเส้นความชัดเจนของช่อง

ขั้นตอนที่ 4 นำกระดาษกาวย่นติดข้างหลังกระดาษแผ่นที่ตัดคือ แผ่นยาวกับแผ่นเล็กให้เชื่อมติดกัน ทำแบบนี้ทั้ง 2 ชุด แล้วนำเทปใสมาติดข้างหน้าระหว่างรอยเชื่อมเหมือนเดิมสามารถพับได้

ขั้นตอนที่ 5 เขียน สิบ หน่วย ในช่องของแผ่นเล็ก

ขั้นตอนที่ 6 นำกระดาษขาวเทาที่เหลือมาขีดวัดช่องเพื่อจะเขียนตัวเลข 0-9 โดยวัดช่องละ 2 นิ้ว จำนวน 10 ช่อง แล้วแต่ละช่องแบ่งครึ่งเป็น 1 นิ้ว ได้ทั้งหมด 20 ช่อง เขียนตัวเลข นำไปตัดออกจะได้ทั้งหมด ชุดละ 10 ชิ้น จำวนตัวเลข 0-9 เป็น 2 ชุด

ขั้นตอนที่ 7 นำกระดาษที่เขียนตัวเลข 0-9 ที่ตัดเป็นชิ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาวางไว้ที่ช่อง สิบ หน่วย



กิจกรรมที่ 2  กิจกรรมปั้นดินน้ำมันและใช้สื่อจากกิจกรรมที่ 1 มาประกอบการเรียนรู้


ขั้นตอนที่ 1 อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม และปั้นดินน้ำมันเป็นผลไม้อะไรก็ได้คนละ1ชนิด

ขั้นตอนที่ 2 อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนบอกชื่อผลไม้ที่ตนเองปั้น เป็นภาษาไทยเสร็จแล้ว ให้นักศึกษาบอกอีก 1 ครั้ง เป็นภาษาอังกฤษ

ขั้นตอนที่3 อาจารย์ให้นักศึกษานำผลไม้ที่ปั้นเสร็จแล้วมาไว้ตรงกลาง เพื่อให้ทุกคนเห็นชัดเจน


ขั้นตอนที่ 4 ให้นักศึกษาจำแนกผลไม้ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ใดก็ได้ ต่อมาอาจารย์ได้ให้ความรู้ว่าการที่จะจำแนก เกณฑ์ที่ใช้จะต้องชัดเจน เช่น ผลไม้ที่มีทรงกลม ผลไม้ที่มีสีแดง เป็นต้น เพราะเด็กใช้ทักษะการสังเกตเชื่อมโยงกับเกณฑ์เกิดการเปรียบเทียบ เมื่อนำออกทำให้ลดลงหรือน้อยลง การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำส่งข้อมูลไปยังสมองแล้วซึมซับ เหมือนน้ำที่แตกกระจายพอเจอสิ่งใหม่บางอย่างเหมือนความรู้เดิมทำให้เกิดเป็นสิ่งใหม่


ประโยชน์จากการทำสื่อนี้
- สามารถทำให้เด็กเกิดความเข้าใจ เกี่ยวกับการหายไปของผลไม้ เป็นทักษะแรกก่อนการเริ่มที่จะบวกลบตัวเลข
- ฝึกการนับให้กับเด็กได้
- เด็กสามารถรู้จักผลไม้ชนิดต่างๆ
- รู้จักคำศัพท์ต่างๆเกี่ยวกับผลไม้


ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการสังเคราะห์
-ทักษะเสริมสร้างการประสานสัมพันธ์

ระหว่างประสาทตากับกล้ามเนื้อนิ้วมือให้ดียิ่งขึ้น
-ทักษะพัฒนาอวัยวะกล้ามเนื้อนิ้วมือ
แขนให้มีทักษะคล่องแคล่ว
-ทักษะในการใช้เกณฑ์ ในการจำแนก

คำศัพท์

❶Criterion เกณฑ์
❷Cut ตัด
❸Classify จำแนก
❹Paper กระดาษ
❺Fruit ผลไม้
❻Sculpt ปั้น
❼Ten สิบ
❽Write เขียน
❾Middle ตรงกลาง
❿Analyze วิเคราะห์

ประเมินตนเอง
วันนี้ดิฉันมาเรียนตรงเวลา มีความพร้อมที่จะเรียนและทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์มอบหมายได้ตรงตามเวลา

ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆส่วนมากตั้งใจทำกิจกรรม มีเสียงดังกันบ้าง ทำงานช้าบ้างเป็นบางคน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงตามเวลาเรียน สดใสและแต่งตัวเรียบร้อยเช่นเคย อาจารย์อธิบายกิจกรรมต่างๆอย่างเข้าใจง่าย ชี้แจงและเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆได้ชัดเจน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น