The Aristocats - Marie

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่3🌈


การเรียนในคาบนี้ อาจารย์ได้จัดกิจกรรม
การจัดทำสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
ให้นักศึกษาทำทั้งหมด 2 กิจกรรม

กิจกรรมแรกคือ ตัดกระดาษ


อุปกรณ์การทำสื่อ
①ไม้บรรทัด
②คัตเตอร์
③แผ่นรองตัด
④กรรไกร
⑤สีเมจิก
⑥ดินสอ
⑦กระดาษขาวเทาแบบแข็ง ( แผ่นใหญ่ )


ขั้นตอนการทำสื่อ
ขั้นตอนที่ 1 นำกระดาษขาวเทาแบบแข็งมาตัดแบ่งครึ่งซึ่งจะได้ทั้งหมด 4 คน หรือ 4 แผ่นเท่าๆกัน

ขั้นตอนที่ 2 นำมาวัดขีดแบ่งช่องเป็น แนวนอน 10 ช่อง แนวตั้ง 4 แถว วัดช่องละ 2 นิ้ว แล้วตัดออก ซึ่งได้ทั้งหมด 2 ชุด ชุดละ 2 แถว

ขั้นตอนที่ 3 นำกระดาษขาวเทาที่เหลือในส่วนที่ตัดออกเพื่อที่จะมาทำส่วนต่อไป ซึ่งนำกระดาษที่ขีดเป็นช่องเสร็จแล้วนำมาวางแนบเป็น 3 ช่อง 2 แถว แล้วขีดเส้นนำไปตัดออกจำนวน 2 แผ่น และวัด 2 นิ้ว 2 ช่อง ขีดลงมาตามความยาว สามารถใช้สีเมจิกขีดเพื่อให้เห็นเส้นความชัดเจนของช่อง

ขั้นตอนที่ 4 นำกระดาษกาวย่นติดข้างหลังกระดาษแผ่นที่ตัดคือ แผ่นยาวกับแผ่นเล็กให้เชื่อมติดกัน ทำแบบนี้ทั้ง 2 ชุด แล้วนำเทปใสมาติดข้างหน้าระหว่างรอยเชื่อมเหมือนเดิมสามารถพับได้

ขั้นตอนที่ 5 เขียน สิบ หน่วย ในช่องของแผ่นเล็ก

ขั้นตอนที่ 6 นำกระดาษขาวเทาที่เหลือมาขีดวัดช่องเพื่อจะเขียนตัวเลข 0-9 โดยวัดช่องละ 2 นิ้ว จำนวน 10 ช่อง แล้วแต่ละช่องแบ่งครึ่งเป็น 1 นิ้ว ได้ทั้งหมด 20 ช่อง เขียนตัวเลข นำไปตัดออกจะได้ทั้งหมด ชุดละ 10 ชิ้น จำวนตัวเลข 0-9 เป็น 2 ชุด

ขั้นตอนที่ 7 นำกระดาษที่เขียนตัวเลข 0-9 ที่ตัดเป็นชิ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาวางไว้ที่ช่อง สิบ หน่วย



กิจกรรมที่ 2  กิจกรรมปั้นดินน้ำมันและใช้สื่อจากกิจกรรมที่ 1 มาประกอบการเรียนรู้


ขั้นตอนที่ 1 อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม และปั้นดินน้ำมันเป็นผลไม้อะไรก็ได้คนละ1ชนิด

ขั้นตอนที่ 2 อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนบอกชื่อผลไม้ที่ตนเองปั้น เป็นภาษาไทยเสร็จแล้ว ให้นักศึกษาบอกอีก 1 ครั้ง เป็นภาษาอังกฤษ

ขั้นตอนที่3 อาจารย์ให้นักศึกษานำผลไม้ที่ปั้นเสร็จแล้วมาไว้ตรงกลาง เพื่อให้ทุกคนเห็นชัดเจน


ขั้นตอนที่ 4 ให้นักศึกษาจำแนกผลไม้ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ใดก็ได้ ต่อมาอาจารย์ได้ให้ความรู้ว่าการที่จะจำแนก เกณฑ์ที่ใช้จะต้องชัดเจน เช่น ผลไม้ที่มีทรงกลม ผลไม้ที่มีสีแดง เป็นต้น เพราะเด็กใช้ทักษะการสังเกตเชื่อมโยงกับเกณฑ์เกิดการเปรียบเทียบ เมื่อนำออกทำให้ลดลงหรือน้อยลง การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำส่งข้อมูลไปยังสมองแล้วซึมซับ เหมือนน้ำที่แตกกระจายพอเจอสิ่งใหม่บางอย่างเหมือนความรู้เดิมทำให้เกิดเป็นสิ่งใหม่


ประโยชน์จากการทำสื่อนี้
- สามารถทำให้เด็กเกิดความเข้าใจ เกี่ยวกับการหายไปของผลไม้ เป็นทักษะแรกก่อนการเริ่มที่จะบวกลบตัวเลข
- ฝึกการนับให้กับเด็กได้
- เด็กสามารถรู้จักผลไม้ชนิดต่างๆ
- รู้จักคำศัพท์ต่างๆเกี่ยวกับผลไม้


ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการสังเคราะห์
-ทักษะเสริมสร้างการประสานสัมพันธ์

ระหว่างประสาทตากับกล้ามเนื้อนิ้วมือให้ดียิ่งขึ้น
-ทักษะพัฒนาอวัยวะกล้ามเนื้อนิ้วมือ
แขนให้มีทักษะคล่องแคล่ว
-ทักษะในการใช้เกณฑ์ ในการจำแนก

คำศัพท์

❶Criterion เกณฑ์
❷Cut ตัด
❸Classify จำแนก
❹Paper กระดาษ
❺Fruit ผลไม้
❻Sculpt ปั้น
❼Ten สิบ
❽Write เขียน
❾Middle ตรงกลาง
❿Analyze วิเคราะห์

ประเมินตนเอง
วันนี้ดิฉันมาเรียนตรงเวลา มีความพร้อมที่จะเรียนและทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์มอบหมายได้ตรงตามเวลา

ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆส่วนมากตั้งใจทำกิจกรรม มีเสียงดังกันบ้าง ทำงานช้าบ้างเป็นบางคน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงตามเวลาเรียน สดใสและแต่งตัวเรียบร้อยเช่นเคย อาจารย์อธิบายกิจกรรมต่างๆอย่างเข้าใจง่าย ชี้แจงและเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆได้ชัดเจน


วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่2🌈

ในคาบเรียนวันนี้อาจารย์ได้ชี้แจงวิธีในการทำบล็อค
ที่ถูกต้อง ทั้งการจัดเรียงหน้าบล็อคต่างๆ ตัวอักษรเนื้อหาและรูปภาพ ที่เหมาะสมให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย
บรรยากาศภายในห้องเรียน


จากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาทุกคน จำนวน 1 แผ่น เพื่อที่จะเริ่มทำ Mapping 
Mapping

ในหัวข้อ 
"การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"


โดยแบ่งหัวข้อหลัก ได้แก่ 

การจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์  เด็กปฐมวัย


บรรยากาศในห้องเรียน
จากนั้นอาจารย์เริ่มพูดคุย ถามตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำ Mapping ในแต่ละหัวข้ออย่างสนุกสนาน และอาจารย์ได้ตั้งประเด็นคำถามที่น่าสนใจเพื่อที่จะทำให้นักศึกษาได้เกิดการคิดและรู้จักการกล้าในการแสดงความคิดเห็นของตนเอง มีนักทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง คือ เพียเจท์ แบนดรูรา

บรรยากาศในห้องเรียน
ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ↠ การเรียนรู้↠ เพื่อการอยู่รอด


วิธีการทำให้เกิดการเรียนรู้ ↠  ลงมือกระทำกับวัตถุสิ่งของด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5

มนุษย์ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ↠  ในการเก็บข้อมูล

ความต้องการ ↠  เป็นตัวอย่าง  ↠ สังเกต  ↠ ปฏิบัติตาม

ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการสังเคราะห์

วิธีการ
-ตั้งประเด็น
-การแสดงความคิดเห็น

คำศัพท์ ●﹏●
Mathematics คณิตศาสตร์
Brain function การทำงานของสมอง
Development พัฒนาการ
Geometry รูปทรงเรขาคณิต
Learning by doing การเรียนรู้โดยลงมือกระทำ
Learning เรียนรู้
 Nature ลักษณะ
 Experience arrangement การจัดประสบการณ์
Early childhood เด็กปฐมวัย
Comparison การเปรียบเทียบ


ประเมินตนเอง
ดิฉันตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน พยายามตอบคำถามแต่ยังมีกังวลเล็กน้อยในการตอบ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆมาเรียนพร้อมกันตรงเวลาเรียน ช่วยการแสดงความคิดเห็นอย่างจริงจัง อาจมีเพื่อนๆส่วนน้อยเล่นโทรศัพท์

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาตรงเวลาเช่นเคย ชี้แจ้งรายละเอียดการทำบล็อคอย่างชัดเจน อาจารย์ถามคำถามที่ให้นักศึกษาเกิดการคิด และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
นางสาวดวงกมล สิทธิฤทธิ์ ผู้บันทึก

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่1🌈

 การเรียนในคาบเรียนนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานโดยให้นักศึกษาสร้าง BLOGGER เป็นของตนเองในรายวิชานี้และอาจารย์ได้บอกถึงรายละเอียดองค์ประกอบของ BLOGGER มีดังนี้ 

1.ชื่อและคำอธิบายบล็อก
2.รูปและข้อมูผู้เรียน
3.ปฎิทินและนาฬิกา
4.เชื่อมโยงบล็อก
-อาจารย์ผู้สอน
-หน่วยงานสนับสนุน
-แนวการสอน
-งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์ (ไม่เกิน 10 ปี)
-บทความ
-ตัวอย่างการสอน
-สื่อคณิตศาสตร์ (เพลง , เกม , นิทาน , แบบฝึกหัด , ของเล่น)
5.ลิ้งค์บล็อคของเพื่อน

นางสาวดวงกมล สิทธิฤทธิ์ ผู้บันทึก 

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

สื่อคณิตศาสตร์🌻


เกมคณิตศาสตร์

เป็นเกมที่สอนให้เด็กรู้จักการคิดเลข 
โดยจะมีเรื่องราวในการพาเด็กเล่นเกมที่สนุกสนาน








เจ้าแกละสอนเลข



อ้างอิง : Wisawakorn Noi
นิทานคณิตศาสตร์

นิทานเรื่องนี้ สามารถให้เด็กเข้าใจและชอบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 
เหมาะที่จะนำไปใช้โดยคุณครูเพื่อสอนเด็กที่โรงเรียน หรือคุณพ่อคุณแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน เนื้อหาจะมุ่งเน้นให้มีความเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนเด็กดูแล้วสนุก 




เพลงบวกเลข
                                                                                                     อ้างอิง : Wisawakorn Noi
เพลงคณิตศาสตร์ 
เพลงบวกเลข เป็นการ์ตูนเพลงสำหรับสอนบวกเลข 
โดยสอนการบวกเลขด้วยนิ้วมือ ซึ่งจะเป็นการ์ตูนที่สนุก และเหมาะสำหรับสอนเด็กชั้นอนุบาลถึงเด็กชั้นประถม โดยใช้หลักการเลขฐาน 5 คือนิ้วมือ ซึ่งจะช่วยสอนให้เด็กเข้าใจการบวกเลขอย่างง่ายได้ดียิ่งขึ้น 



นางสาวดวงกมล สิทธิฤทธิ์ ผู้บันทึก 


วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2562

สรุปงานวิจัย🌻

การส่งเสริมทักษะภาษาของเด็กปฐมวัย

โดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม "สนุกกับลูกรัก"

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยสิงหาคม 2556 

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเป็นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเมื่อได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม สนุกกับลูกรัก และนำเสนอผลการขอข้อมูลตามลำดับ ที่จะศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม สนุกกับลูกรักโดยกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้หนึ่งเพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเมื่อได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กประถมวัยโดยผู้ปกครองในชุดกิจกรรม สนุกกับลูกรัก

        ความสัมพันธ์ของการวิจัยสามารถนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและโรงเรียนเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยให้เกิดการพัฒนาทางสติปัญญาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กประถมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมและเป็นแนวทางสำหรับครูผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาประถมวัยได้เลือกใช้เป็นแนวทางของการให้ความรู้และผู้ปกครองเพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยต่อไป
             
        เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรมสนุกกับลูกรักมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ดังนี้หนึ่งระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสองทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 3 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สรุปผลการวิจัยเด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรมสนุกกับลูกรักมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ดังนี้หนึ่งระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสองทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสามทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

                  อ้างอิงโดย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



นางสาวดวงกมล สิทธิฤทธิ์ ผู้บันทึก

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562

สรุปความรู้บทความ🌻

การสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติ

(Teaching Mathematics Basic Skills from Natural Materials) 

หมายถึง การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการสังเกต เปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม การเรียงลำดับ การนับ การรู้ค่าจำนวนจากวัสดุธรรมชาติที่ได้จากพืชและสัตว์ เช่น เมล็ดธัญพืชต่างๆ เปลือกข้าวโพด ใบมะพร้าว ก้านกล้วย ใบไม้ ดอกไม้ ฯลฯ และวัสดุธรรมชาติที่ได้จากสัตว์ เช่น เปลือกหอย เกล็ดปลา ซากกุ้ง ปู ฯลฯ ที่นำมาจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การร้อย การพิมพ์ภาพ การประดิษฐ์ การสร้างภาพ ฯลฯ การนำวัสดุจากธรรมชาติที่ได้จากพืชและสัตว์ที่มีอยู่รอบตัวมาจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพบนก้อนหิน การวาดภาพบนใบไม้ การร้อยพวงมาลัยจากดอกดาวเรือง การสานจากใบมะพร้าว การสร้างภาพจากเมล็ดพืช การประดิษฐ์ตุ๊กตาจากเปลือกข้าวโพด การสร้างภาพด้วยเกล็ดปลา การประดิษฐ์โมบายด้วยเปลือกหอย ฯลฯ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติเหล่านี้ นอกจากช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานเพลิดเพลินในการแสดงออกทางด้านอารมณ์และความรู้สึกผ่านสื่อต่างๆออกมาเป็นผลงานทางศิลปะแล้ว สื่อวัสดุธรรมชาติที่มีลักษณะแตกต่างกันในเรื่องรูปร่าง สี ขนาด น้ำหนัก พื้นผิว เป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้ ทั้งทักษะการสังเกต เปรียบเทียบ การนับ การจัดกลุ่ม การจัดลำดับ การเรียนรู้ค่าและจำนวน ฯลฯ

ครูจัดกิจกรรมสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติที่โรงเรียนอย่างไร?
การสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติจะนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์หรือกิจกรรมสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งการวาดภาพระบายสี การร้อย การประดิษฐ์ การปั้น การพิมพ์ภาพ ดังนั้นการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์จึงมีขั้นตอนต่างๆที่เป็นลำดับขั้นเพื่อให้เด็กเรียนรู้ที่จะปฏิบัติได้ถูกต้อง เช่น การส่งเสริมทักษะการนับจากการพิมพ์ภาพจากใบไม้ โดยพาเด็กไปสำรวจบริเวณโรงเรียนว่ามีต้นไม้อะไรบ้าง จากนั้นให้เด็กเก็บใบไม้จำนวน 10 ใบเข้าห้องเรียน แล้วให้เด็กนับจำนวนใบไม้ทีละใบพร้อมกันจนถึงสิบ จากนั้นครูสาธิตการพิมพ์ภาพด้วยใบไม้ แล้วให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมและเก็บวัสดุอุปกรณ์ ทำความสะอาดพื้นที่จัดกิจกรรมการส่งเสริมทักษะการเปรียบเทียบจากกิจกรรมการร้อยต้นกก ให้เด็กออกมาเปรียบเทียบความยาว ความสูงและเรียงลำดับขนาดของต้นกก ก่อนที่จะให้เด็กหั่นต้นกกเป็นท่อนสั้นและยาวเพื่อนำมาร้อยสลับกันส่งเสริมทักษะการจัดลำดับจากกิจกรรมการทำโมบายจากเปลือกหอย โดยให้เด็กเรียงลำดับเปลือกหอยจากเล็กไปหาใหญ่และจากใหญ่ไปหาเล็ก แล้วให้เด็กประดิษฐ์เป็นโมบายตามความคิดและจินตนาการ
นอกจากนี้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมการนับจากการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้เช่น การนับผลสับปะรด การนับใบมะพร้าว การนับดอกไม้ การนับเปลือกไข่ การนับก้านกล้วย การส่งเสริมทักษะการเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบขนาดของเมล็ดข้าวเปลือกที่นำมาสร้างภาพปะติด การเปรียบเทียบฝักข้าวโพดที่นำเปลือกมาประดิษฐ์เป็นตุ๊กตา การเปรียบเทียบขนาดของดินเหนียวที่นำมาปั้น การเปรียบเทียบขนาดของเปลือกหอยที่นำมาประดิษฐ์ เป็นต้น การส่งเสริมทักษะการจัดลำดับ เช่น การเรียงลำดับความยาวของต้นกกที่นำมาร้อยหรือสาน การเรียงลำดับสีอ่อนแก่ของดอกไม้ที่นำมาร้อยพวงมาลัย การเรียงลำดับขนาดของผักตบชวาที่นำมาร้อย การเรียงลำดับขนาดของก้านกล้วยที่นำมาประดิษฐ์เป็นโมบาย เป็นต้น

พ่อแม่ผู้ปกครองจัดกิจกรรมสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติให้กับลูกที่บ้านได้อย่างไร?
พ่อแม่ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมประสบการณ์ทางด้านศิลปะในขณะอยู่ที่บ้าน โดยเฉพาะการมีเจตคติที่ดีต่อการส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะในรูปแบบต่างๆ ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะรับรู้เกี่ยวกับผลงานที่เด็กทำที่โรงเรียน หรือบางครั้งครูจะอนุญาตให้เด็กนำผลงานที่ทำมาให้ผู้ปกครองประเมิน ผู้ปกครองจึงเข้าใจเกี่ยวกับชิ้นงานสร้างสรรค์ของเด็กและสามารถนำมาส่งเสริมให้เด็กพัฒนาที่บ้านได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรปฏิบัติและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากกิจกรรมสร้างสรรค์
                                                                              
นางสาวดวงกมล สิทธิฤทธิ์ ผู้บันทึก 

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2562

ตัวอย่างการสอน🌻




คณิตศาสตร์ในกิจวัตรประจำวันของเด็กปฐมวัย

สรุปการสอน
เป็นการสอนคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับกิจวัตประจำวันของเด็กปฐมวัย
โดยใช้หลักและวิธีในการสอนที่น่าสนใจ ชวนให้เด็กๆสนุกสนานตาม

นางสาวดวงกมล สิทธิฤทธิ์ ผู้บันทึก